top of page

ทำไมเวลาอ่านโน้ตแล้วมีทั้งแบบ C D E และ Do Re Me ?

           คนหัดอ่านโน้ตใหม่ๆหรือเรียนดนตรีใหม่ๆคงสงสัย เวลาอ่านในหนังสือจะสอนให้เราเรียกว่าตัว C D E... แต่ทำไมเวลาครูพูดหรือเพื่อนบอกโน้ตเรากลับเรียกเป็นแบบโด เร มี สรุปแล้วมันต้องชื่ออะไรและต้องเรียกแบบไหนกันดี ผมจะมาอธิบายแบบบ้านๆให้เข้าใจง่ายๆครับ

เราเรียกโน้ตทั้ง2แบบนั่นแหละ แต่การใช้แบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับสถานะการดังนี้

1. เรียกแบบ C D E F G A B (Letter System) ตามชื่อเลยก็คือ เป็นระบบสำหรับเขียน มักใช้เวลาทำอะไรเป็นทางการ(คล้ายชื่อจริงของเรา) เช่น เรียนทฤษฎีในหนังสือเรียน,สอบข้อเขียนทฤษฎีดนตรี,เขียนโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้น(เวลาขี้เกียจนับโน้ตตอนมีเส้นน้อยเยอะ ๆ ) ดังนั้นระบบโน้ตที่ใช้ตัวอัลฟาเบธแบบนี้มักใช้ในการเรียนทฤษฎีหรือเขียนมากกว่า ซึ่งจะทำให้ดูเป็นทางการ ความหมายชัดเจนเห็นแล้วเข้าใจง่าย 2. เรียกแบบ Do Re Me Fa Sol La Ti (Sol-fa System) เป็นระบบสำหรับร้องโน้ต(Solfege ในภาษาอังกฤษหรือ Solfeggio ในภาษาอิตาเลี่ยน) เหมาะกับการร้องบอกโน้ตเพลงกันครับ เพราะการร้องเป็นแบบโดเรมีจะทำให้ออกเสียงอักขระคำสะดวกกว่าแบบ CDE ครับ ไม่เชื่อลองดู... ปกติเราท่องโน้ตหนูมาลีกันได้ใช่ไหมครับที่เราท่องกันว่า "มี เร โด เร มี มี มี เร เร เร มี ซอล ซอล" มีใครไหมที่สอนเพลงหนูมาลีแล้วท่องเป็น "อี ดี ซี ดี อี อี อี ดี ดี ดี อี จี จี" คงมึนกันทั้งคนสอนและคนเรียนแน่ๆ5555+(เขียนสะกดคำเป็นภาษาไทยจะได้ออกเสียงแล้วเห็นภาพครับ) และการใช้การเรียกแบบโดเรมีนี้มักไม่ค่อยเอามาใช้เวลาเรียนทฤษฎีหรือทำข้อสอบครับ อย่างข้อสอบถามว่าโน้ตบนเส้นนี้คือตัวอะไร ถ้าตอบไปว่าโดคงแปลก ๆ ครับเพราะไม่ค่อยมีใครใช้กันและมันดูไม่เป็นทางการ ต้องตอบว่า C เวลาเขียนคำตอบ ส่วนโดเรมีจะใช้ตอนร้องบอกโน้ตให้เข้าใจง่าย ๆ มากกว่า และการเรียกแบบโดเรมีนี้มักไม่ค่อยเอามาใช้เวลาเรียนทฤษฎีหรือทำข้อสอบครับ สมมุติข้อสอบถามว่า บน G clef โน้ตบนบรรทัดที่ 3 คือโน้ตอะไร ถ้าตอบไปว่าโดคงแปลก ๆ ครับเพราะไม่ค่อยมีใครใช้กันและมันดูไม่เป็นทางการ ต้องตอบว่า C เวลาเขียนคำตอบ ส่วนโดเรมีจะใช้ตอนร้องบอกโน้ตให้เข้าใจง่าย ๆ มากกว่า **เพิ่มเติม 2 ตัวที(Ti) ครูบางท่านจะออกเสียงว่าซี(Si) มันคือตัวเดียวกันแค่ออกเสียงไม่เหมือนกัน อยู่ที่ว่าครูจะที่สอนเราถนัดหรือเรียนมาแบบไหน ส่วนตัวของครูเบลล์ถูกสอนให้เรียกที(Ti)มาตลอด  

          สรุปง่าย ๆ คือแบบ CDE นิยมเอาไว้ใช้เขียน แบบโดเรมีนิยมใช้ร้องบอกโน้ตกัน ถึงตรงนี้น่าจะเข้าใจกันแล้วนะครับว่าทำไมบางครั้งต้องใช้แบบ CDE บางครั้งร้องเป็นโดเรมี 

และทั้ง 2 การเรียกเราต้องเชื่อมโยงมันเขาด้วยกันนะครับไม่ใช่รู้แค่แบบใดแบบหนึ่งเช่นเห็นตัว C ก็ต้องรู้ว่ามันคือโด เห็นตัว G ก็ต้องรู้ว่าตัวซอลแบบนี้เป็นต้น หรือกลับกันร้องโน้ตโดก็ต้องรู้ว่ามันคือ C ด้วยเหมือนกัน  

เพิ่มเติมอีกเรื่องคือการเรียกชื่อคอร์ด เราต้องเรียกเป็นภาษา C D E นะ ผมเคยเจอด้วยคนที่บอกผมว่าคอร์ดโด คอร์ดเรไมเนอร์ ผมงงอยู่แปบนึง ส่วนตัวเท่าที่เรียนมามันไม่มีครับ 555+ แต่เหมือนเคยรู้มาว่าเมื่อก่อนสมัยแรก ๆ ที่ยุโรปเขาเรียกคอร์ดโดแบบนี้เหมือนกันครับแต่ปัจจุบันไม่นิยมและในไทยก็ใช้ชื่อ C D E ในการเรียกชื่อคอร์ดครับ 

การใช้การเรียกที่ผิดก็อาจทำให้คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องเหมือนกันนะ คราวนี้น่าจะเข้าใจกันแล้วนะครับจะได้หายสงสัยและเอาไปใช้กันได้ถูกต้องครับ 

ครูเบลล์ ^ ^

Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
bottom of page