เรียนดนตรีอย่างไรให้คุ้มค่าคอร์สที่สุด
เรียนดนตรีอย่างไรให้คุ้มค่าคอร์สที่สุด
ด้วยความที่ผมเป็นครูสอนเปียโนคนหนึ่ง บทความนี้จึงถือเป็นเสียงพูดแทนครูสอนดนตรีทั่วประเทศเลยก็ว่าได้ ถือเป็นส่วนเล็กๆให้หลายๆคนตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนดนตรีตามสถาบันดนตรีนะครับ ^ ^
การเรียนดนตรีที่สถาบันสอนดนตรีต่างๆถือว่านิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเรียนเองหรือส่งลูกหลานเข้าเรียนก็ตาม บ้างคาดหวังผลจากการเรียนดนตรีบ้าง บ้างก็ไม่คาดหวังขอเพียงแค่ให้เรียนเพื่อผ่อนคลาย เล่นดนตรีเพื่อความสุขยามว่างหรือเป็นความรู้ติดตัว ไม่ว่าจะคาดหวังแบบไหนก็ควรได้รับความคุ้มค่าจากการเรียนในแต่ละคอร์ส บทความนี้พูดรวมถึงเด็กๆที่เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่เล็กๆและนักเรียนที่โตแล้ว มาดูกันครับว่าทำยังไง
ปกติแล้วการเรียนดนตรีแบบนี้จะเรียน1ครั้งต่ออาทิตย์ ขั้นแรกลองสำรวจก่อนครับว่าหลังจากออกจากห้องเรียนแต่ละอาทิตย์ไปแล้ว เรากลับมาซ้อมมากแค่ไหน? อันนี้แหละที่สำคัญที่สุด ครูดนตรีหลายคนประสบปัญหา "นักเรียนไม่ได้ซ้อมการบ้านมา" ทำให้ครูสอนต่อไม่ได้ เวลาเข้ามาในห้องเรียนแทนที่จะได้เรียนกลับกลายเป็นมานั่งซ้อมกันในชม. ครูก็ทำอะไรมากไม่ได้เพราะนักเรียนก็รู้โน้ตหมดแล้วแค่เล่นไม่คล่องเท่านั้น(จุดนี้เป็นจุดทีทำให้ครูนั่งงงไม่รู้จะทำอะไรดี จะให้ผ่านแพลงนี้เลยก็ไม่ค่อยดี ให้ซ้อมต่อก็ต้องรอ) การซ้อมหลังชั่วโมงเรียนเป็นสิ่งสำคัญอันดับที่1ของการเรียนดนตรี ในอาทิตย์นึงมี7วัน เราเจอครูไป1วันถามว่า6วันที่เหลือเราทำอะไร??? ส่วนมากแล้ว6วันที่เหลือเราจะใช้ชีวิตตามตารางปกติแล้วมารอเจอครูในห้องเรียนในครั้งหน้า จุดนี้เองที่ทำให้เราเรียนไม่คุ้มค่าคอร์สเพราะการเรียนที่เราเรียน1ครั้งต่ออาทิตย์ ถูกออกแบบให้เรามีเวลาซ้อม6วันนั่นเอง มีเวลาเตรียมตัวตั้ง6วันเพื่อทำให้ครูเซอร์ไพรในฝีมือที่พัฒนาขึ้นจากอาทิตย์ที่แล้ว(แต่ส่วนมากจะเป็นเซอ์ไพรอีกด้านนึงแทน) บางคนอาจดีขึ้นมาหน่อยคือได้ซ้อมบ้าง2-3ครั้งก่อนมาเรียน บ้างก็ซ้อมก่อนวันเรียน1วันแล้วบอกว่าซ้อม ผมอยากจะบอกว่าครูดนตรีทุกคนดูออกว่านักเรียนซ้อมมากน้อนแค่ไหนเมื่อดูการเล่นของเรา(ซ้อมมาไหมเขาก็ถามไปงั้นแหละ555+) นี่คือปัญหาที่ทำให้เราเรียนไม่คุ้มค่าคอร์สครับ
จากมุมมองนักเรียนบ้าง มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ไม่มีเวลาซ้อม เยอะมากเช่น ไม่มีเวลาซ้อม(คำตอบอันดับ1)เนื่องจากทำงาน,เรียน,เรียนพิเศษ,กลับบานดึกฯลฯ ผมอยากทำความเข้าใจแบบนี้นะครับ การที่เราสมัครเรียนดนตรีเราต้องเข้าใจภาระสำคัญที่จะตามมาด้วยนั่นคือซ้อมครับ การเรียนดนตรีไม่ใช่เพียงแค่เป็นการจ่ายค่าคอร์สแล้วรอเจอครูตัวต่อตัวทุกอาทิตย์เหมือนการเรียนคอร์สวิชาการสายอื่นๆ การเรียนดนตรีนั้นรวมไปถึงการที่เราต้องซ้อมสม่ำเสมอตอนที่ไม่เจอครูด้วยครับคือซ้อมที่บ้าน นั่นคือภาระหน้าที่ที่ตามมาเมื่อเราตกลงเรียนดนตรีตามคอร์สต่างๆ ซึ่งหลายคนยังไม่เข้าใจจุดนี้ทำให้เรียนแล้วเกิดการไม่พัฒนา เรียนแล้วเบื่อเรียนแล้วย่ำอยู่กับที่ ดังนั้นก่อนจะลงคอร์สเรียนดนตรีต่างๆ เราต้องมั่นใจว่าตารางชีวิตของเรามีเวลาพอที่จะซ้อมทบทวนการบ้านแต่ละอาทิตย์ นี่คือเรื่องสำคัญที่ทุกคนไม่เคยรู้
การเรียนดนตรีเป็นสิ่งที่ดีครับ ช่วยพัฒนาตัวเราพัฒนาอารมณ์ได้ดี การซ้อมสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่มีคู่กันกับการเรียนดนตรี ในผู้ใหญ่ที่เรียนดนตรีควรจัดเวลาให้ตัวเองมีช่วงซ้อมในแต่ละวันหรือวันเว้นวันให้สม่ำเสมอ ในเด็กเล็กหน่อยผู้ปกครองก็ควรจัดเวลาให้ซ้อมเช่นกัน ครูดนตรีมีหน้าที่ชี้แนะในบทเรียนต่างๆเท่านั้น การจะเก่งขึ้นได้ไม่ได้มาจากครูทั้งหมด แต่มาจากตัวนักเรียนเองครับ ครูดนตรีหลายๆคนคงเคยพูดกับนักเรียนนะครับว่า ถ้าซ้อมแทนได้นี่ซ้อมแทนไปแล้ว5555+ ครูดนตรีมอบได้แต่ความคิดครับ ความเก่งนั้นให้กันไม่ได้ "นักเรียนต้องสร้างขึ้นมาเอง"
K'Bell ^ ^
Commentaires