top of page

การเรียนต่อสายดนตรีระดับ ป.ตรี Part 2 : เริ่มเรียนตอนอายุมากแล้วหรือซิ่วมาจากคณะอื่นจะเรียนได้ไหม

การเรียนต่อสายดนตรีระดับ ป.ตรี Part 2 :

เริ่มเรียนตอนอายุมากแล้วหรือซิ่วมาจากคณะอื่นจะเรียนได้ไหม

คำตอบ : ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแต่ละคน แนะนำให้อ่านต่อ

ผมได้รับคำถามหลายครั้งจากคนอายุ 30+ ว่าอยากทำตามฝันโดยการเข้าไปเรียนสายดนตรีในมหาลัยเป็นเรื่องเป็นราว เป็นไอเดียที่ดีไหม ที่จริงแล้วไม่แค่สายดนตรีแต่ก็ทุกสายทุกคณะ การเข้าไปเริ่มเรียนในมหาลัยฯต้องยอมรับว่าความรับผิดชอบต่อการเรียนค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนมากคนอายุ 30+ มักจะมีอาชีพการงานหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ต้องถามตัวเองว่าความพร้อมในส่วนนี้ทำได้เต็มที่ไหม ถ้าทำได้จริงก็ลองให้รู้ไป แต่ถ้าคิดว่าไม่ชัวร์เรื่องความรับผิดชอบ เราสามารถเรียนข้างนอกแล้วสอบเกรดเอาใบ Certificate เอาต่างหากก็ได้ อย่างเช่นการสอบ Trinity, ABRSM เป็นต้น สอบเกรดตามเครื่องดนตรีที่เราเล่นได้เลยเช่นเปียโน, กีต้าร์, ไวโอลิน, ขับร้อง (คลาสสิค), เครื่องเป่า ฯลฯ

เพื่อการสอบเกรดก็ต้องวัดทักษะทางดนตรีรอบด้านพอสมควรไม่ได้แค่เล่นเพลงสอบอย่างเดียว ต้องมีสเกลมี Eartest ต่างๆ เกรดสูงๆ ต้องสอบข้อเขียนทฤษฎีด้วยถึงจะได้ใบ Certificate แถมการวอบแบบนี้ออกแบบเวลาซ้อมเวลาเรียนได้อิสระมากกว่าเข้าไปเรียนในมหาลัย เช่น ซ้อมไม่ทันก็เลื่อนการสอบออกไปไปรอบหน้าแบบนี้ก็ได้ ผมว่าอันนี้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนอายุเยอะหน่อยแต่อยากทำตามฝันตัวเอง

อีกเคสนึงคือซิ่วจากคณะอื่นมาเรียนสายดนตรี ต้องบอกเลยว่าจากประสบการณ์ส่วนตัว ครึ่งต่อครึ่งที่ย้ายมาเริ่มเรียนสายดนตรีคิดว่ามันง่าย ต้องคิดแบบนี้ครับว่าเรียนสายอะไรก็แล้วแต่ หลักสูตรจะหล่อหลอมให้เราออกมาประกอบอาชีพได้ ทุกหลักสูตรมีความเข้มข้นในตัวเอง ศาสตร์ทุกศาสตร์ที่เปิดสอนในมหาลัยฯมีความยากในแบบของมัน ไม่มีอะไรง่ายกว่าอะไร หลายคนมองว่าเรียนดนตรีจบง่ายเพราะได้เล่นดนตรีทั้งวัน อยู่กับดนตรีทั้งวันมีความสุขจะตาย ผมเองก็คิดแบบนี้นะก่อนจะได้เข้าไปเรียน แต่พอเข้าไปเรียนแล้วถึงรู้ว่าคิดผิด 555+

การย้ายจากคณะอื่นมาเรียนอื่น เราต้องให้เกียรติต่อวิชาชีพนั้นๆโดยอย่าคิดว่ามันจะง่ายกว่าสายที่เราเลือกเรียนก่อนหน้านี้ การทิ้งเรื่องที่ยากเป็นจับเรื่องที่ง่ายผมว่าเป็นความคิดที่ผิด อย่าคิดแต่เรื่องยากง่าย แต่ให้คิดถึงความถนัดและความสุขที่ได้เรียนรู้ศาตร์นั้นๆจะดีกว่า บอกได้เลยว่าดนตรีไม่ง่ายแต่ต้องทุ่มเทให้พอสมควร เพราะสุดท้ายถ้าเราทำแค่พอผ่าน จบออกมาทักษะเราก็ไม่พอจะไปแข่งกับใครได้ คนที่เล่นดีกว่าเขียนเพลงดีกว่าใช้โปรแกรมดนตรีดีกว่าย่อมได้งานที่ดีกว่า ต้องมองให้ลึกครับสำหรับทางเลือกที่เราจะเลือกไป

Part 2 นี้เหมือนไม่ได้ตอบฟันธงแต่เป็นการให้นำกลับไปคิดในเคสของตัวเองมากกว่า ปัจจัยชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงไม่มีคำตอบตายตัว ลองตัดสินใจจากแนวคิดที่ผมให้ไปนะครับ

*ขอบคุณภาพประกอบจากคณะดนตรีและการแสดง ม.บูรพา (บรรยากาศการสอบคัดเลือก)

ครูเบลล์ ^ ^ www.bellpianopop.com Line id @bellpianopop

Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
bottom of page