top of page

ระยะเวลาในการซ้อม ไม่สำคัญเท่าคุณภาพ

การซ้อมเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เราพัฒนาฝีมือทางดนตรีได้ ถ้าเรียนหรือรู้มาแล้วไม่ซ้อมก็ไม่เกิดประโยชน์ การซ้อมภาคปฏิบัติจะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่รู้มาได้มากขึ้น ซึ่งผมเคย Live และเขียนบทความเรื่องการซ้อมหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้จะเป็นอีกครั้งนึงที่มาแชร์เรื่องนี้ ถือเป็นครั้งแรกสำหรับปี 2019 นะ ใครอยากอ่านแบบสั้น ๆ ก็ "จุดประสงค์ของการซ้อมคือ การจำสิ่งที่ซ้อมได้" ใครอยากอ่านแบบยาว ๆ ก็ตามมา หลายคนเวลาเรานึกถึงการซ้อมจะรู้สึกอึดอัด รู้สึกเหนื่อย รู้สึกไม่มีเวลา และหลายครั้งเรามักคิดว่าการซ้อมต้องใช้เวลานาน ๆ เป็นชั่วโมง ซึ่งความจริงแล้วการซ้อมอาจไม่จำเป็นต้องนั่งซ้อมนาน ๆ ขนาดนั้นก็ได้ อันนี้บอกเอาใจผู้ใหญ่วัยทำงานที่ฝึกเล่นดนตรีเลย *ขยายความตรงนี้นิดนึง สำหรับผู้ใหญ่ที่มาฝึกเล่นตอนโตแล้วอาจไม่ชินกับการนั่งซ้อมนาน ๆ ให้ซ้อมสั้น ๆ ตามที่บทความจะบอกต่อไปนี้ก็ได้ แต่กับคนที่เรียนดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ถูกฝึกให้มีวินัยในการซ้อมอย่างจริงจังมาก่อน การซ้อมได้เป็นชม.ถือเป็นเรื่องปกติ เป้าหมายของการซ้อมมีหลัก ๆ 2 อย่างคือ 1. จำสิ่งที่ซ้อมได้ 2. ทำสิ่งที่เข้าใจได้คล่อง ถามว่าเวลาเป็นปัจจัยไหม ตอบว่าเป็นครับ แต่ ไม่เท่าคุณภาพของการซ้อม คุณภาพของการซ้อมวัดได้จากอะไร ก็ 2 ข้อที่เพิ่งบอกไปนั่นแหละครับคือ "จำ"สิ่งที่ซ้อมได้กับ"ทำ"สิ่งที่ซ้อมได้คล่อง ถ้าซ้อม 5 นาทีแล้วจำคอร์ดเพลงได้ 1 ท่อนโดยไม่ต้องมองคอร์ดอีกเลย นั่นก็ถือว่ามีคุณภาพในการซ้อมแล้ว แต่ถ้ามาซ้อม 1 ชม.แต่ยังจำคอร์ดไม่ได้สักท่อน ได้หลังลืมหน้า อันนี้แหละคือการซ้อมที่ไม่มีคุณภาพ หลายคนคิดว่าการซ้อมคือการทำมันซ้ำ ๆ นั่นถูกแค่ครึ่งเดียวครับ ทำซ้ำ ๆ นั้นดีครับแต่ถ้าไม่จำก็ไม่เกิดประโยชน์เลย เพราะฉนั้น ซ้อมแล้วต้องจำสิ่งที่ซ้อมให้ได้ด้วย แค่สั้น ๆ ก็ได้ครับไม่ต้องจำยาว ๆ เอาที่เราจำไหวในตอนซ้อม นอกจากการ"จำสิ่งที่ซ้อม"ให้ได้แล้ว ข้อ 2 คือ"ทำสิ่งที่เข้าใจได้คล่อง"อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งข้อ 2 นี้ต้องใช้การ"สังเกตุ"ในการซ้อมด้วยครับ ไม่ใช่หลับหูหลับตาซ้อมซ้ำ ๆ เล่นไปเรื่อย ๆ ยกตัวอย่าง เราหัดเล่นท่อนอินโทรเพลงสักเพลงนึงแล้วเล่นไม่ได้สักที ถ้าเราใช้การสังเกตุว่าเพราะอะไรเราเล่นไม่ได้ เราติดปัญหาอะไร ถ้าเราเจอปัญหาและรู้ทางแก้เราอาจใช้เวลาซ้อมน้อยลงได้เยอะมากนะครับ เช่น - เราสังเกตุว่าเราซ้อมเร็วไป ทางแก้คือลดความเร็วลง - เราสังเกตุว่าเราเล่นไมลงจังหวะไม่ลงห้องเพลง เราก็เปิดเมโทรนอม - เรากดคอร์ดนี้เพี้ยนบ่อย ๆ ก็มาซ้อมจับคอร์ดนั้นจนมือจำรูปคอร์ดได้ - เปลี่ยนคอร์ดไม่ทัน ก็ให้ซ้อมทีละ 2 คอร์ด - เล่น 2 มือแล้วแยกประสาทไม่ได้ ก็ซ้อมทีละมือ เห็นไหมครับว่าแค่เราสังเกตุการซ้อม จะทำให้เรารู้ปัญหาและรู้ทางแก้ จากที่ต้องนั่งงมเล่นซ้ำ ๆ เป็นชั่วโมง ๆ บางทีแค่ 5 - 15 นาทีก็อาจทำให้เราเล่นจุดที่ติดขัดได้แล้ว **คำเตือน ถ้าเราติดตรงไหนนาน ๆ ไม่พัฒนาความคล่องขึ้นสักที จะทำให้เราเริ่มเบื่อการซ้อม พอเป็นแบบนี้บ่อย ๆ จิตใตสำนึกจะจำว่าการซ้อมดนตรีเป็นเรื่องยาก น่าเบื่อ นำพาไปสู่การดรอปซ้อมหรือบางเคสอาจเลิกเล่นดนตรีไปเลย การมีครูสอนและแนะนำจึงมาช่วยในเรื่องนี้ เพราะครูที่ดีนอกจากจะวางเบสิคที่ดีให้เรา สอนสิ่งใหม่ที่เราไม่รู้แล้ว ครูยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องการซ้อมของเราช่วยให้เราประหยัดเวลาในการเรียนรู้ได้มากอีกด้วย แต่หากใครที่ซ้อมด้วยตัวเอง ก็สามารถทำได้ตามที่แนะนำเรื่องการซ้อมที่มีคุณภาพข้างต้นได้เลย และแถมให้อีกนิดนึง คือ ความพร้อมทั้งร่างกายและจิดใจในขณะซ้อมก็มีผลต่อคุณภาพการซ้อมเช่นกัน เราควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่มีเรื่องกังวลมารบกวนการซ้อม ไม่ง่วงไม่อ่อนเพลียเกินไป จะยิ่งทำให้เรามีสมาธิในการซ้อมที่ดีและคุณภาพการซ้อมทก็จะดีตามไปด้วย และทั้งหมดนี้คือคำแนะนำเรื่องการซ้อมที่มีคุณภาพ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยพัฒนาการซ้อมเพื่อฝีมือทางดนตรีที่ดีขึ้นของทุกคนที่ชอบและฝึกเล่นดนตรีกันอยู่นะครับ ผมทำคลิป"วิธีซ้อมให้เล่นคล่อง+จำโน้ตได้ไว" ใครยังไม่เคยดูไปดูกันได้ที่ลิ้งค์นี้ครับ > https://youtu.be/vSbSlKI9trE ครูเบลล์ ^ ^  

Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
bottom of page