top of page

แชร์ไอเดียการซ้อม เทคนิค "Image training"

แชร์ไอเดียการซ้อม ผมเสนอเทคนิค "Image training" เป็นเทคนิคที่ผมใช้ประจำ บางคนอาจใช้อยู่แต่ไม่รู้ตัว วันนี้จะมาขยายความให้ฟังครับว่ามันคืออะไรการซ้อมแบบ Image training

เคยเป็นไหมเวลาที่จะต้องเล่นให้ใครดูสักคน ต้องเล่นบนเวที เล่นให้การบ้านอาจารย์ที่สอนดนตรีของเรา ต้องแสดงดนตรีให้คนดูเยอะๆแล้วเล่นไม่ออกเพราะตื่นเต้น เกร็ง ไม่มีสมาธิ เพราะว่าการซ้อมส่วนตัวมันใช้สมาธิคนละส่วนกับเวลาเล่นแบบแสดงครับ ขอเล่าประสบการณ์ของตัวเองเป็นตัวอย่างก็แล้วกันครับ ตอนผมยังเป็นนิสิตเอกเปียโนอยู่ เพลงสอบแต่ละเทอมทั้งยาวและเทคนิคยาก บางเทอมได้เพลงเร็ว (อันนี้ตัวดีเลย) เรามีเวลาซ้อมแต่ละครั้งแค่ 3 เดือน ก็ซ้อมจนเล่นได้หมด คล่องปร๋อ แต่เวลาขึ้นไปสอบเล่นแป๊กกระจาย จุดที่ไม่เคยผิดก็มาผิดบนเวทีสอบ มั่นใจมากก่อนสอบแต่พอสอบเสร็จคนละอารมณ์555+ ก็มานั่งวิเคราะห์ว่าทำไมเล่นไม่ได้เหมือนที่ซ้อมมา (ทั้งๆที่บางครั้งแอบมาซ้อมเปียโนตัวที่ใช้สอบจริงเลยด้วย แอบมาลองทัชชิ่งของจริง) จนได้ข้อสรุปว่า ตื่นเต้นเกินไปเวลาเล่น คราวนี้ก็มาหาทางซ้อม ซ้อมยังไงให้ตื่นเต้นเวลาซ้อมเหมือนตอนสอบ เออแปลกไหม เพราะตอนเราซ้อมดนตรีเราไม่ค่อยตื่นเต้นหรอก มันจะเฉยๆก็ซ้อมไปเรื่อยๆเล่นผิดก็เล่นใหม่ ทำไงให้ซ้อมแล้วตื่นเต้นเหมือนของจริงละ ?? ก็เลยค้นพบคำว่า Image training จากการซ้อมของนักกีฬาครับ ซึ่งเป็นการซ้อมโดยใช้จินตนาการเข้าร่วม หมายถึงยังไง อย่างเช่นนักมวย เวลาซ้อมต่อยลมเราจะเห็นเขาเอียงตัวหลบลมด้วยใช่ไหม แบบว่าโยกหลบอากาศเหมือนว่ามีคนต่อยมา นั่นเพราะเขาจินตนาการว่าคู่ต่อสู้ออกมาวุธมาแบบไหนแล้วก็หัดตอบสนองด้วยจินตนาการล้วนๆ นักกีฬาแล้วต่อสู้มักใช้วิธีนี้ในการซ้อมจำลองครับ คราวนี้มาเป็นดนตรีบ้าง เราจะประยุกต์ใช้ได้ยังไง สำหรับผมเวลาซ้อมให้ซ้อมธรรมดาแบบแยกท่อนไปซัก 9 รอบแล้วรอบที่ 10 ให้เอาจริงคือเล่นทั้งเพลงแล้วนึกบรรยากาศของการสอบ บอกเลยว่าถ้าเป็นยังไง กรรมการนั่งตรงไหน คนดูเยอะไหมฯลฯ ใครเคยสอบจะจำความตื่นเต้นนั้นได้ คราวนี้เวลาซ้อมรอบที่เรา Image traning เราจะเริ่มตื่นเต้นมากขึ้น(ขึ้นอยู่กับจินตนาการของแต่ละคนว่าอินแค่ไหน) จะเล่นโชว์บนเวทีเวลาซ้อมก็ให้จินตนาการภาพบนเวที ไฟมือๆสลัวๆ เสียงคนดูเสียงปรบมือ ซ้อมไปคิดภาพตามไปด้วยแบบนี้จะทำให้ฝึกรับมือความตื่นเต้นได้บ้าง ดีกว่าไม่ฝึกเลยแล้วไปเจอทีเดียวตอนของจริง อีกวิธีที่ผมเคยเห็นนิสิตคนอื่นโดนอาจารย์ฝึกก็คือ ล่าลายเซ็นต์555+ คือ ให้เชิญรุ่นพี่รุ่นน้องแถวๆห้องซ้อมเข้าไปฟังเข้าไปจับผิดการเล่น 10 คนแล้วขอลายเซ็นต์ไว้เป็นหลักฐาน ทำให้เวลาเล่นจะตื่นเต้นเพราะมีคนมาจ้อง(แถมจับผิด) เป็นการฝึกรับความกดดันได้ดีมากๆครับ สำหรับคนที่เรียนดุริยางคศาสตร์เรื่องความกดดันเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องฝึกแบบหนีไม่พ้นครับ(เพราะเราเล่นดนตรีเพื่อเอาเกรดนั่นเอง คะแนนจะลดลงไปตามความตื่นเต้นที่มากขึ้นเวลาสอบ55+) แต่สำหรับคนที่ฝึกเล่นเองที่บ้าน ไม่ได้ไปสอบหรือไปแข่งที่ไหนจำเป็นไหม ผมคิดว่าก็จำเป็นเหมือนกันนะ ต้องเข้าใจอย่างนี้ครับว่าการเรียนดนตรีมาคู่กับการแสดงดนตรี แยกกันไม่ได้ แม้จะเป็นการเล่นแสดงเล็กๆในครอบครัวก็ถือว่าต้องมีบ้าง เวลาซ้อมอาจจะลองนึกว่ากำลังเล่นให้คนที่บ้านฟังดูบ้างครับ ถึงเวลาจริงๆที่มีคนมาดูเราจะได้เล่นดีๆให้เขาฟังกันนิดนึง บางคนเรียนดนตรีแต่เลี่ยงการเล่นให้คนอื่นฟังตลอดเพราะเขิน อาย กลัวเล่นพลาด ลองเปลี่ยนความคิดครับ ดนตรีเกิดมาคู่กับการที่ต้องมีคนฟัง ดนตรีที่ไม่มีคนฟังถือเป็นดนตรีที่ยังไม่ครบองค์ประกอบของมันครับ เล็กๆน้อยๆก็ขอให้มีบ้างที่เล่นให้คนอื่นฟัง เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อเราทำได้ดีระดับนึงมันจะทำให้เรามีกำลังใจ มีแรงบันดาลใจให้ฝึกซ้อมต่อๆไปเรื่อยๆครับผม K'Bell // www.bellpianopop.com ^ ^

Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
bottom of page